Center for Health and Rights of Migrants

News
SOSOSO (日本語)
Contact
Line (English)
Telephone Consult
languages

ภาษาไทย(タイ語)

เกี่ยวกับชาร์ม

 ภารกิจและวิสัยทัศน์

โปรแกรมต่างๆที่ CHARM ดำเนินการอยู่

 a) โปรแกรมให้บริการด้วยหลายภาษา
 b)โปรแกรมเกี่ยวกับเอชไอวี

หากท่านเจ็บป่วยในขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น

ประกันสุขภาพของประเทศญี่ปุ่น

สำหรับผู้ที่เป็นห่วงเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี

เมื่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีชาวต่างชาติจะมาอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

การตรวจ

สถานตรวจที่ให้บริการด้วยภาษาต่างประเทศ


เกี่ยวกับชาร์ม

CHARM (Center for Health and Rights of Migrants) เป็นองค์กรชุมชนที่ทำงานร่วมกับผู้คนหรือกลุ่มที่หลากหลาย โดยให้ความช่วยเหลือกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และคนที่ไม่ได้มีภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่ โดยชาร์มมีเป้าหมายอยากให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ทุกๆคนไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยมีสุขภาพที่ดี

CHARM ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 โดยมีแพทย์, นักจิตวิทยาการปรึกษา (Counselor), นักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker) เป็นต้น ร่วมกันก่อตั้งองค์กรขึ้น
CHARM ให้ความช่วยเหลือ เดินคู่เคียงข้างกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายคือเพื่อให้สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างที่เขาอยากให้เป็น โดยทางเราไม่ได้จำกัดว่าผู้ติดเชื้อเป็นคนชาติไหน หรือใช้ภาษาอะไร

เราให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทางการแพทย์และสถานีอนามัยเพื่อให้มีการทำระบบรองรับการเข้ารับการตรวจและการรักษาด้วยภาษาที่หลากหลาย เพื่อปรับปรุงสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ให้ดีขึ้น เพราะในปัจจุบัน การไม่เข้าใจในภาษาเป็นสิ่งกีดขวางในการเข้าใจระบบการแพทย์และเข้าถึงการแพทย์เพื่อรับการรักษา

CHARM นอกจากจะทำงานประสานงานร่วมกับโรงพยาบาลรองรับผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ให้การรักษากับผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยเฉพาะแล้ว ยังทำงานประสานงานร่วมกับหน่วยงานทางการแพทย์ และเอนจีโอที่ทำงานช่วยเหลือชาวต่างชาติด้วย

และเรายังได้รับมอบหมายในการดำเนินการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาลเมือโอซาก้า เมืองเกียวโต เป็นต้น และจากจังหวัดโอซาก้า และกระทรวงสาธารณสุขและแรงงาน ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้นด้วย

ภารกิจและวิสัยทัศน์

CHARM เป็นองค์กรที่ทำงานร่วมกับคนต่างชาติ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ฯลฯ ทีมแพทย์ และกลุ่มประชาชนต่างๆ เพื่อให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยมีสุขภาพที่ดี โดยเราต้องการให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ยอมรับและเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหน พูดภาษาอะไร มีรสนิยมทางเพศอย่างไร หรือมีโรคประจำตัวหรือไม่

นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเกี่ยวกับภาษา ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องวีซ่า และไม่รู้ว่าจะใช้บริการระบบต่างๆที่มีอยู่ได้อย่างไร อาจจะมีทั้งได้รับการเหยียดหยาม และไม่ใช่เรื่องง่ายในการใช้บริการด้านสวัสดิการสังคมที่มีอยู่มากมายในประเทศญี่ปุ่น CHARM ให้ความช่วยเหลือกับคนต่างชาติเหล่านี้


โปรแกรมต่างๆที่ CHARM ดำเนินการอยู่

โปรแกรมที่คนต่างชาติที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นหรือผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถใช้บริการได้

1.ให้บริการปรึกษา หรือการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา และช่วยเหลือจัดส่งล่ามแปลภาษาตามความจำเป็น เพื่อแก้ปัญหาของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน
2.ให้ความช่วยเหลือในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
3.เผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพด้วยภาษาที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้
4.จัดงานอบรมสัมมนาและทำการวิจัยเพื่อเผยแพร่สถานการณ์ในสังคมที่เป็นจริงและให้ข้อเสนอแนะกับสังคม
5.จัดทำสถานที่ที่มีผู้คนที่หลากหลายสามารถมาพบเจอและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันได้
6.รับนักศึกษาฝึกงานหรือจัดอบรมเพื่อสร้างบุคลากรที่สามารถใส่ใจกับคนในงานด้านสุขอนามัย การแพทย์ หรือสวัสดิการสังคม

ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น หน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น สถานีอนามัย ฯลฯ และองค์กรเอกชน เพื่อทำให้เป็นสังคมที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนญีปุ่นหรือคนต่างชาติสามารถใช้บริการสวัสดิการสังคมและด้านการแพทย์ได้อย่างพอเพียง

a) โปรแกรมให้บริการด้วยหลายภาษา

1. ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์เกี่ยวกับเอชไอวี / โรคติดต่อทางเพศด้วยภาษาต่างประเทศ

【ภาษาอังกฤษ / ภาษาสเปน / ภาษาจีน / ภาษาโปรตุเกส】

ให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น ด้วยภาษาต่างประเทศ
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศรวมถึงการติดเชื้อเอชไอวี ให้ข้อมูลสถานที่ตรวจเชื้อเอชไอวี และโรงพยาบาลที่สามารถเข้ารับการรักษาในโอซาก้าและพื้นที่รอบๆด้วย
ไม่ต้องห่วงเรื่องข้อมูลส่วนตัวเพราะ CHARM จะไม่นำข้อมูลที่ได้รับปรึกษาไปแจ้งกับบุคคลที่สาม
ให้คำปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ท่านต้องเสียค่าโทรศัพท์มาที่โทรมาที่ CHARM เอง

วันอังคาร 16:00~20:00 ภาษาอังกฤษ / ภาษาสเปน / ภาษาโปรตุเกส
วันพุธ 16:00~20:00 ภาษาจีน
วันพฤหัสบดี 16:00~20:00 ภาษาอังกฤษ

06-6354-5901

*ที่องค์กรมีเจ้าหน้าที่คนไทย ท่านสามารถโทรศัพท์มาขอคำปรึกษาได้ที่หมายเลข (06-6354-5902) ระหว่าง 10-17น. วันทำการ โดยแจ้งความประสงค์ว่าอยากปรึกษาด้วยภาษาไทย ทางเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้กับท่านว่าเจ้าหน้าที่คนไทยจะสะดวกรับโทรศัพท์ของท่านวันไหน หรืออาจพิมพ์ข้อความเป็นภาษาไทยในแบบฟอร์มติดต่อสอบถาม


2. ให้คำปรึกษาด้วยการพบและพูดคุยกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและพาร์ทเนอร์ เป็นต้น

【ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาอังกฤษ / ภาษาสเปน / ภาษาไทย / ภาษาฟิลิปปินส์ / ภาษาโปรตุเกส ฯลฯ】

ให้คำปรึกษาโดยนักสังคมสงเคราะห์(Social Worker), นักจิตวิทยาการปรึกษา(Counselor), พยาบาล เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
สามารถใช้บริการได้หากต้องการแก้ปัญหา หรือต้องการพูดคุยกับใครในเรื่องที่ไม่สามารถปรีกษากับคนรอบข้างได้

ท่านที่ต้องการใช้บริการ กรุณาติดต่อเข้ามาที่สำนักงาน CHARM

แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม


3. เดินทางไปเป็นเพื่อนที่สถานที่ราชการหรือโรงพยาบาล

【ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาอังกฤษ / ภาษาสเปน / ภาษาไทย / ภาษาฟิลิปปินส์ / ภาษาโปรตุเกส ฯลฯ】

CHARM สามารถส่งเจ้าหน้าที่เพื่อเดินทางไปเป็นเพื่อนกรณีที่จะต้องเดินทางไปสถานที่ต่างๆที่ไม่คุ้นเคย เช่นตอนไปทำเรื่องต่างๆที่สถานที่ราชการ หรือไปโรงพยาบาลเป็นครั้งแรก

ท่านที่ต้องการใช้บริการ กรุณาติดต่อเข้ามาที่สำนักงาน CHARM

แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม


4. บริการล่ามทางการแพทย์สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

【ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาอังกฤษ / ภาษาสเปน / ภาษาไทย / ภาษาฟิลิปปินส์ / ภาษาโปรตุเกส ฯลฯ】

ให้บริการจัดหาและส่งล่ามไปยังโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีเพื่อแปลภาษาให้เข้าใจในตอนที่เข้ารับการรักษา หรือรับฟังคำอธิบายต่างๆจากแพทย์
สามารถส่งล่ามไปที่โรงพยาบาลที่อยู่ในจังหวัดโอซาก้า เกียวโต เฮียวโกะ ชิกะ นารา และวะคะยะมะ
สำหรับโรงพยาบาลที่อยู่นอกเหนือจากจังหวัดข้างต้น ขอให้ติดต่อสอบถามมาที่สำนักงาน CHARM

ท่านที่ต้องการใช้บริการ กรุณาติดต่อเข้ามาที่สำนักงาน CHARM หรือแจ้งกับแพทย์หรือพยาบาลที่โรงพยาบาลที่ท่านเข้ารับการรักษาอยู่

แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม


b)โปรแกรมเกี่ยวกับเอชไอวี

5. จัดส่งนักจิตวิทยาการปรึกษา(Counselor)สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

【ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาอังกฤษ / ภาษาไทย / ภาษาฟิลิปปินส์ ฯลฯ】

มีบริการส่งนักจิตวิทยาการปรึกษาเฉพาะทางสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ต้องการปรึกษาที่โรงพยาบาลเทศบาลเมืองโอซาก้า(โอซาก้าชิริซึเบียวอิน)

ท่านที่ต้องการใช้บริการ กรุณาแจ้งกับแพทย์หรือพยาบาลที่โรงพยาบาล

แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม


6. ข้อมูลเกี่ยวกับเอชไอวีในต่างประเทศ

【ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาอังกฤษ / ภาษาไทย / ภาษาฟิลิปปินส์ ฯลฯ】

ท่านใดที่สามารถติดต่อเพื่อขอใช้บริการ

1) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่อาศัยอยู่ต่างประเทศที่มีกำหนดจะเดินทางมาทำงานหรืออาศัยที่ประเทศญี่ปุ่น จึงจำเป็นต้องหาข้อมูลว่าจะเข้ารับการรักษาเอชไอวีได้ที่ไหน มีค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่ และมีหน่วยงานหรือองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือหรือไม่?
2) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ในอนาคตจะต้องเดินทางกลับประเทศของตน แล้วอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาหรือชนิดของยาต้านไวรัส เป็นต้น ในประเทศของตน
3) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นที่มีกำหนดจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ต่างประเทศในอนาคต
4) บุคลากรทางการแพทย์ที่จำเป็นอยากทราบข้อมูลทางการแพทย์ในต่างประเทศ

ท่านที่ต้องการข้อมูลทางการแพทย์ในต่างประเทศ โปรดระบุข้อมูลต่างๆตามหัวข้อด้านล่างนี้ในแบบฟอร์มติดต่อสอบถาม

・ประเทศที่ท่านจะเดินทางไป และพื้นที่(รัฐ มณฑล จังหวัด เมือง ฯลฯ) ที่ท่านจะไปอยู่อาศัย
・ท่านจะไปอาศัยอยู่ในประเทศนั้นด้วยวีซ่าประเภทไหน (ทำงาน ศึกษาต่อ แต่งงาน ฯลฯ)
・ท่านจะไปอาศัยอยู่ที่นั่นนานแค่ไหน

แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม


8. กิจกรรมกลุ่มสตรี

【ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาอังกฤษ ฯลฯ】

เป็นการจัดตั้งกลุ่มสตรีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพื่อให้ได้มาพบเจอพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยกัน โดยมีการจัดให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัว การประชุมกลุ่มย่อยโดยผู้ติดเชื้อด้วยกันเอง และจะมีการนัดประชุมกลุ่มจากทั่วประเทศญี่ปุ่นเพื่อพบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ไม่ว่าท่านจะใช้ภาษาอะไรก็ตาม

ท่านที่ต้องการเข้าร่วมโปรแกรม กรุณาติดต่อเข้ามาที่สำนักงาน CHARM

แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม


9. SPICA

【ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาอังกฤษ ฯลฯ】

กลุ่ม SPICA มีการนัดประชุมกลุ่มเดือนละ 2 ครั้ง โดยเป็นการรวมกลุ่มของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพจากการติดยาเสพติด
เป็นกิจกรรมกลุ่มที่รวมตัวกันของเพื่อนร่วมกลุ่มที่ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพจากการติดยาเสพติดโดยช่วยเหลือค้ำจุนซึ่งกันและกันในการฟื้นฟูสมรรถภาพจากการติดยาเสพติด
โดยมีทั้งการคุยแลกเปลี่ยนความคิด การจัดกลุ่มเรียนรู้ และทำกิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน ฯลฯ

・ใครก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มได้ ไม่ว่าจะพูดภาษาอะไร นับถือศาสนาอะไร หรือรสนิยมทางเพศอย่างไร
・มาเข้าร่วมกลุ่มแค่ครั้งเดียวก็ได้
・เก็บความลับของข้อมูลส่วนตัว

วันอาทิตย์ที่ 2 ของทุกเดือน 16:00 ~ 18:00
วันเสาร์ที่ 4 ของทุกเดือน 16:00 ~ 18:00

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงาน CHARM

แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม


หากท่านเจ็บป่วยในขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น

(1) ที่ประเทศญี่ปุ่น หากไม่สบาย ลำดับแรก ขอให้ไปตรวจที่คลินิกใกล้บ้านท่าน
โดยขอให้ไปคลินิกตามอาการที่เป็น
หากไม่รู้ว่าจะต้องไปคลีนิกรักษาโรคไหน ขอให้ท่านไปปรึกษากับคลินิกอายุรกรรม(โรคทั่วไป)

・แผนกอายุรกรรม(โรคทั่วไป) (内科; naika) : อาการทั่วไป เช่น เป็นหวัด มีไข้ ปวดท้อง เป็นต้น
・แผนกศัลยกรรม (外科; geka) : เป็นบาดแผล เป็นหนอง
・แผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์(กระดูก) (整形外科; seikei geka) : กระดูก ข้อต่อ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
・แผนกสูติ-นรีเวช (産婦人科; sanfujinka) : เจ็บป่วยโรคของสตรี ตั้งครรภ์ คลอดบุตร
・แผนกหูคอจมูก (耳鼻科; jibika) : โรคเกี่ยวกับหู คอ จมูก
・แผนกจักษุ(ตา) (眼科; ganka) : โรคเกี่ยวกับตา
・แผนกกุมารเวช(เด็ก) (小児科; shonika) : รักษาเด็กเล็กจนถึงเด็กก่อนจบชั้นประถมศึกษา

(2) กรณีที่จำเป็นต้องไปตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพิ่มหรือวินิจฉัยโรคเฉพาะทาง หมอที่คลินิกจะทำจดหมายหรือใบส่งตัวคนไข้เพื่อให้ไปรับการตรวจที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่
โรงพยาบาลขนาดใหญ่บางแห่งจะไม่รับตรวจหากไม่มีใบส่งตัวผู้ป่วยจากคลินิกใกล้บ้าน
และแม้จะรับตรวจในกรณีที่ไม่มีใบส่งตัวผู้ป่วยจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มประมาณ 5,000เยน และจะใช้เวลานานมากในการรอก่อนที่จะได้รับการตรวจ

(3) สิ่งที่จะต้องนำติดตัวไปที่คลินิก

①บัตรประกันสุขภาพ
②เงินสด (คลินิกส่วนใหญ่ไม่รับชำระด้วยบัตรเครดิต)

ค่าเข้ารับการรักษาครั้งแรก 2,000-3,000เยน (เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยที่มารักษาโรคนั้นเป็นครั้งแรก)
ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าตรวจเช็คทางการแพทย์ ค่ายา จะต่างกันขึ้นอยู่กับแพทย์
กรณีที่ไม่ค่อยมีเงินค่ารักษา ขอให้ปรึกษากับแพทย์ตอนที่รับการตรวจ

ทุกคนที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นจะต้องเข้าระบบประกันสุขภาพ (ประกันสุขภาพสังคมหรือประกันสุขภาพประชาชน)
หากไม่เข้าในระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่น ค่ารักษาพยาบาลจะแพงมาก
สำหรับประกันการเดินทางหรือการท่องเที่ยวที่ทำกับบริษัทเอกชน ท่านจำเป็นต้องชำระเงินสำรองไปก่อนในตอนที่เข้ารับการรักษา แล้วจึงทำเรื่องขอเงินคืนจากบริษัทประกันทีหลัง ซึ่งท่านเองจะต้องเป็นคนจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เป็นมูลค่าที่สูงไปก่อน


●ประกันสุขภาพของประเทศญี่ปุ่น

(a)ประเภท

 (a-1) ประกันสุขภาพสังคม

  เป็นประกันสำหรับคนที่ทำงานในบริษัท
  ทางบริษัทที่ท่านทำงานจะเข้าเป็นผู้เอาประกัน ท่านจะถูกหักเบี้ยประกันจากเงินเดือน โดยทางบริษัทจะรับภาระจ่ายเบี้ยประกันให้ท่านครึ่งหนึ่ง

 (a-2) ประกันสุขภาพประชาชน

  เป็นประกันสำหรับบุคคลที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว นักเรียน นักศึกษา และคนที่ไม่ได้ทำงาน
  โดยสามารถทำเรื่องขอเข้าระบบได้ที่แผนกประกันสุขภาพประชาชน ณ ที่ทำการเขตหรือเทศบาลที่ท่านมีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้อยู่อาศัย
  ค่าเบี้ยประกันสุขภาพจะถูกกำหนดโดยคำนวณจากค่าภาษีประชาชนที่ท่านได้มีการชำระในปีที่แล้ว
  คนต่างชาติที่จะสามารถเข้าระบบประกันสุขภาพประชาชนนี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้อยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น (ผู้ที่มีวีซ่าในการอยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นเกิน 3 เดือนขึ้นไป)
  สำหรับผู้ที่พำนักระยะสั้น หรือมีวีซ่าสำหรับเพื่อเข้ามารักษาพยาบาล จะไม่สามารถเข้าระบบประกันสุขภาพประชาชนนี้ได้

(b)เมื่อเข้าระบบประกันสุขภาพแล้ว

 (b-1) คนที่ออยู่ในระบบประกันสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วยหรือต้องเข้านอนในโรงพยาบาล ก็จะสามารถเข้ารับการรักษาโดยจ่าย 30% ของค่ารักษาพยาบาล
 (b-2) กรณีที่ค่ารักษาพยาบาลมีมูลค่าสูง เช่น จากการผ่าตัด หรือเพราะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน เป็นต้น หากอยู่ในระบบประกันสุขภาพ จะมีระบบช่วยเหลือผู้ป่วยให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลในมูลค่าที่กำหนดไว้เท่านั้น ส่วนที่เกินกว่านั้นไม่จำเป็นต้องจ่าย
 (b-3) กรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่รักษายากตามที่ทางประเทศญี่ปุ่นกำหนด หรือมีอาการพิการเกิดขึ้น หากอยู่ในระบบประกันสุขภาพ จะสามารถทำเรื่องขอใช้ระบบช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลพิเศษได้


●สำหรับผู้ที่เป็นห่วงเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี

ความแตกต่างของการติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์

เชื้อเอชไอวี (HIV; Human Immunodeficiency Virus) เป็นชื่อของไวรัส หากติดเชื้อไวรัสแล้วปล่อยไว้โดยไม่ได้ทำอะไร เมื่อผ่านไปหลายปีจนถึงสิบกว่าปี สมรรถภาพของภูมิคุ้มกันร่างกายก็จะลดต่ำลง

เอดส์ (AIDS; Acquired Immune Deficiency Syndrome) คือสภาพของการมีอาการติดเชื้อต่างๆแสดงออกมาเมื่อสมรรถภาพของภูมิคุ้มกันร่างกายลดลงจากการติดเชื้อเอชไอวี

เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี

เชื้อเอชไอวีเป็นไวรัสที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อที่ต่ำ ไวรัสจะมีอยู่ในเลือด, อสุจิ, สารคัดหลั่งในช่องคลอด, น้ำนม โดยจะติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่
เชื้อเอชไอวีจะเข้าสู่ร่างกายผ่านเนื้อเยื่อบุหรือปากแผลสดที่มีเลือดออกอยู่
ความเป็นไปได้ที่เชื้อเอชไอวีจะเข้าสู่ร่างกายได้คือ ผ่านเนื้อเยื่อบุต่างๆทาง ตา, ช่องปาก, ในช่องคลอด, ท่อปัสสาวะ, ทวารหนัก
เมื่อเลือด, อสุจิ, สารคัดหลั่งในช่องคลอดที่มีเชื้อเอชไอวีสัมผัสโดยตรงกับเนื้อเยื่อบุหรือปากแผลก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงที่เลือดที่มีเชื้อเอชไอวีจะเข้าสู่เส้นเลือดของท่านได้โดยตรง จึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
การคลอดบุตรผ่านช่องคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้น จะมีโอกาสที่เลือดของมารดาจะสัมผัสกับทารก จึงมีโอกาสที่จะทำให้ติดเชื้อได้
และการให้น้ำนมจากมารดาก็มีโอกาสที่จะทำให้มีการติดเชื้อไปยังบุตรได้

วิธีลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

a การมีเพศสัมพันธ์

ในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ หากมีการป้องกันไม่ให้เลือด, อสุจิ, สารคัดหลั่งในช่องคลอดสัมผัสโดยตรงกับอวัยวะเพศ, รูทวาร, ในช่องปาก ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

การใช้ถุงยางอนามัยจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการเลี่ยงมิให้เกิดการสัมผัสโดยตรงกับเลือด, อสุจิ, สารคัดหลั่งในช่องคลอด
ชนิดของถุงยางอนามัยที่มีจำหน่ายคือถุงยางอนามัยสำหรับสวมอวัยวะเพศชาย และถุงยางอนามัยสำหรับสอดเข้าในช่องคลอด
สำหรับกรณีที่อยู่ในสภาวะที่ยากในการใช้ถุงยางอนามัย การทำให้เลือด, อสุจิ, สารคัดหลั่งในช่องคลอดสัมผัสในปริมาณที่น้อยและในระยะเวลาที่สั้น ถือเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
เช่น หากมีการหลั่งอสุจิในปาก ในช่องคลอด และในรูทวารให้ล้างชำระ หรือหากมีน้ำหล่อลื่นหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอดเข้าปากให้รีบชำระล้าง เพราะจะเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหากไม่กลืนอสุจิหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอดเข้าไป
และหากมีรอยแผลที่เนื้อเยื่อบุก็จะทำให้ไวรัสเข้าไปในร่างกายได้ง่าย ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้สูงขึ้น

ในกรณีที่จะมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก การแปรงฟันจะทำให้เกิดแผลเล็กๆในช่องปากได้ ฉะนั้น อาจจะทำการบ้วนปากและกลั้วคอแทนการแปรงฟัน

กรณีที่เป็นโรคติดต่อทางเพศอื่นๆ หรือมีแผลในช่องปาก หรือเป็นหวัด เป็นต้น จะทำให้เนื้อเยื่อบุหรือผิวหนังเกิดแผลที่ไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายได้ ขอให้ทำการรักษาโรคที่เป็นอยู่นั้นก่อน และควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาให้หายก่อน
กรณีที่ใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยทางเพศสอดใส่ในรูทวารหรือในช่องคลอด จะทำให้มีของเหลวของร่างกายหรือเลือดติดที่อุปกรณ์นั้น

เมื่อใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยทางเพศร่วมกับผู้อื่น จะทำให้มีของเหลวจากรูทวาร สารคัดหลั่งในช่องคลอด และเลือด เป็นต้นของผู้อื่นมาสัมผัสกับเนื้อเยื่อบุของตัวท่าน จึงขอให้หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน หรือกรณีที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน ก็ขอให้ล้างก่อนที่จะเปลี่ยนกันใช้ หรือสวมถุงยางเข้ากับอุปกรณ์เครื่องช่วยทางเพศนั้น

b การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

ในการฉีดยา หากใช้เข็มฉีดยาร่วมผู้อื่นในการฉีดสารเสพติด อาจจะทำให้ติดเชื้อกันได้ ขอให้ใช้เข็มใหม่ หรือเข็มส่วนตัวของแต่ละคน

หากจะต้องใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ก็ขอให้ล้างเข็มและฆ่าเชื้อหลังจากที่ใช้เสร็จ ก็จะเป็นการลดโอกาสการติดเชื้อให้ลดน้อยลง แต่ก็ยังไม่เหมาะสมในทางอนามัย ขอให้หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

c การคลอดบุตรจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี

มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ตั้งครรภ์นั้น หากรู้ว่าตัวเองติดเชื้อแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปสู่บุตรในครรภ์ได้ โดยการทานยาต้านไวรัสในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม จะทำให้ไวรัสในร่างกายมีจำนวนที่น้อยลง, การคลอดบุตรด้วยการผ่าท้อง, และไม่ให้นมแม่ ก็จะทำให้โอกาสในการติดเชื้อของเด็กทารกลดน้อยลง

ด้วยวิธีเหล่านี้ จะทำให้การติดเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีไปยังบุตรต่ำกว่า 0.5%


●เมื่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีชาวต่างชาติจะมาอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

1. กรณีของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ทานยาต้านไวรัส (ARV) อยู่แล้ว จะมาอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

ที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้มีแจกยาต้านไวรัส (ARV) ให้ผู้ติดเชื้อฟรี
ค่ารักษาพยาบาลราคาสูง จำเป็นต้องเข้าระบบประกันสุขภาพ
จะมีระบบช่วยเหลือค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพนี้
เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากระบบช่วยเหลือพิเศษนี้ จำเป็นต้องติดต่อทำเรื่องเพิ่มเติม
ก่อนที่จะเดินทางมาที่ญี่ปุ่น ขอให้เตรียมเอกสารต่อไปนี้มาล่วงหน้าด้วย

①เอกสารที่จำเป็น:
 a) ผลการตรวจเลือด 2 ครั้ง ในขณะที่มีตัวเลขของค่า CD4 ต่ำกว่า 500 และจะต้องมีผลตรวจที่แสดงปริมาณไวรัส, จำนวนของเม็ดเลือดขาว, เกล็ดเลือด, และฮีโมโกลบิน ในช่วงเวลานั้นด้วย
 b) ผลตรวจก่อนที่จะเดินทางมายังประเทศญี่ปุ่น
 c) ใบส่งตัวผู้ป่วยที่ออกโดยแพทย์

②เลือกโรงพยาบาล
มีโรงพยาบาลที่กำหนดให้เป็นโรงพยาบาลที่รับรักษาเอชไอวีอยู่ทั่วประเทศ
หากไม่ทราบว่าจะต้องไปโรงพยาบาลไหน ขอให้ติดต่อมาที่สำนักงาน CHARM
แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม

แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม

③เข้าระบบประกันสุขภาพ
ก่อนจะไปโรงพยาบาล ขอให้ทำเรื่องเพื่อเข้าระบบประกันสุขภาพสังคมหรือประกันสุขภาพประชาชนก่อน แล้วจำเป็นต้องนำบัตรประกันสุขภาพไปโรงพยาบาลด้วย

④สำหรับท่านที่อาศัยอยู่ในแถบคันไซ ท่านสามารถติดต่อมาที่สำนักงาน CHARM เพื่อขอใช้บริการล่ามทางการแพทย์ หรือขอให้เดินทางไปติดต่อทำเรื่องที่เทศบาลเมืองกับท่านได้
สำหรับท่านที่อาศัยอยู่นอกเขตคันไซ ขอให้ติดต่อสอบถามเพื่อรับคำปรึกษาได้
*เขตคันไซ หมายถึงบริเวณจังหวัด โอซาก้า, เฮียวโกะ, เกียวโต, ชิกะ, นะระ, วะคะยะมะ

⑤ประเทศญี่ปุ่น ไม่มีการปฏิเสธการเข้าประเทศของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถต่อวีซ่าเพื่อพำนักอยู่ในญี่ปุ่นได้เช่นเดียวกับคนต่างชาติทั่วไป


2. กรณีที่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีในระหว่างที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น

① ท่านที่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีจากการตรวจเอชไอวี

ขอให้เดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ได้รับการแนะนำ(พร้อมใบส่งตัวผู้ป่วย) จากศูนย์ตรวจเชื้อเอชไอวี และทำเรื่องเข้าตรวจครั้งแรก
ทำเรื่องเข้าตรวจครั้งแรก(Shoshin tetsuzuki) คือ。。。บริเวณทางเข้าของอาคารโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จะมีเคาน์เตอร์ทำเรื่องเข้าตรวจครั้งแรก(ผู้ป่วยใหม่) อยู่ ขอให้ท่านทำเรื่องตามลำดับขั้นตอนต่อไปนี้

① กรอกข้อมูลรายละเอียดในใบขอเข้ารับการตรวจ
② นำใบที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ไปยังเคาน์เตอร์ผู้เข้าตรวจครั้งแรก ขอให้ยื่นใบส่งตัวผู้ป่วยในไปพร้อมกัน
③ รับไฟล์เอกสารการตรวจและบัตรประจำตัวคนไข้ของโรงพยาบาล
④ นำไฟล์เอกสารไปยื่นที่แผนกที่จะเข้ารับการตรวจ
⑤ เข้ารับการตรวจวินิจฉัย และตรวจเช็คสภาพร่างกายต่างๆ
⑥ ถามแพทย์ในกรณีที่มีข้อสงสัย
⑦ ชำระเงิน

สิ่งที่จะต้องนำติดตัวไปด้วย
a) บัตรประกันสุขภาพ
b) ใบส่งตัวผู้ป่วยที่ได้รับจากศูนย์ตรวจเชื้อเอชไอวี
c) เงินสด ประมาณ 10,000 เยน

② ท่านที่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีที่โรงพยาบาล

ขอให้ปรึกษาแพทย์หรือนักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล (Social Worker) เพื่อทำเรื่องที่จำเป็นในการเข้ารับการรักษา


3. สำหรับท่านที่อาศัยอยู่ในแถบคันไซ ท่านสามารถติดต่อมาที่สำนักงาน CHARM เพื่อขอใช้บริการล่ามทางการแพทย์ หรือขอให้เดินทางไปติดต่อทำเรื่องที่เทศบาลเมืองกับท่านได้

สำหรับท่านที่อาศัยอยู่นอกแถบคันไซ ขอให้ติดต่อสอบถามเพื่อรับคำปรึกษาได้
กรุณาติดต่อสอบถามมายังสำนักงาน CHARM

มีบริการเพื่อเดินทางไปโรงพยาบาลหรือไปติดต่อทำเรื่องที่เทศบาลเมืองต่างกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีเชื้อสายของคนต่างชาติด้วย
การจัดส่งล่ามการแพทย์สำหรับการรักษาเอชไอวีจะไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายค่าล่ามกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีชาวต่างชาติ ขอให้ท่านติดต่อมาได้หากท่านประสบปัญหาในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือตอนที่ไปติดต่อทำเรื่องที่เทศบาลเมือง
ในการจัดส่งล่าม ต้องขอเวลาในการติดต่อกับล่ามของแต่ละภาษา
โดยจะพยายามจัดส่งล่ามไปในวันที่ท่านต้องการใช้บริการล่าม แต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะสามารถส่งล่ามไปในวันที่ท่านต้องการ
และต้องเรียนว่าทาง CHARM ไม่ได้มีล่ามทุกภาษา บางภาษาอาจจะไม่สามารถจัดส่งล่ามให้ได้ กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงาน CHARM

แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม


●การตรวจ

การตรวจเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศ(STI)

1. จะไปตรวจเอชไอวี / STI ได้ที่ไหน?

การที่จะรู้ว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ท่านจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเชื้อ
โดยท่านสามารถเข้ารับการตรวจเอชไอวีได้ที่สถานีอนามัย(โฮะเคนโชะ/โฮะเคนเซนเตอร์)ในประเทศญี่ปุ่น โดยที่ท่านไม่จำเป็นต้องแจ้งชื่อสกุลจริง และไม่มีเสียค่าใช้จ่าย
ท่านอาจจะสามารถรับการตรวจโรคติดต่อทางเพศอื่นๆ (เช่น ฟิซิลิส หรือ การติดเชื้อคลามีเดีย เป็นต้น) พร้อมกับการตรวจเชื้อเอชไอวีได้ที่สถานีอนามัยบางแห่ง
การตวจเชื้อเอชไอวียังสามารถทำได้ที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลเช่นกัน แต่จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น
ท่านสามารถหาข้อมูลในการตรวจได้ที่ “เว็บไซต์หาสถานตรวจและปรึกษาเอชไอวี (ภาษาญี่ปุ่น)” หรืออาจติดต่อมาที่ CHARM

แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม

2. ความหมายของผลตรวจเอชไอวี

ผลตรวจเอชไอวี จะแสดง “HIV Negative(ผลลบ)” หรือ “HIV Positive(ผลบวก)”

“HIV Negative(ผลลบ)” หมายถึงไม่ได้ติดเชื้อ HIV,
“HIV Positive(ผลบวก)” หมายถึงติดเชื้อ HIV

กรณีที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยส่วนใหญ่หลังจากได้รับเชื้อผ่านไปประมาณ 4 สัปดาห์ ผลตรวจเลือดจะเป็น Positive (ผลบวก)
ฉะนั้นหากตรวจหลังผ่านเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อผ่านไปแล้ว 4สัปดาห์ ผลตรวจที่เป็น HIV Negative(ผลลบ) ก็จะสามารถเข้าใจได้ว่าไม่ติดเชื้อเอชไอวี
ทั้งนี้ ระยะเวลาที่จะมีการแสดงผลบวกในการตรวจนั้นจะขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน
ในแต่ละสถานีอนามัยหรือสถานตรวจเอชไอวีจะมีการกำหนดระยะเวลาที่จะได้ผลตรวจที่ถูกต้องหลังผ่านเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อไม่เหมือนกัน ขอให้สอบถามระยะเวลาที่กำหนดของแต่ละสถานที่ตอนเข้ารับการตรวจ
เช่น สำหรับวิธีตรวจช่วงเวลาค่ำของเทศบาลเมืองเกียวโต จะต้องรอให้ผ่านเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อไม่น้อยกว่า 3 เดือนถึงจะได้ผลที่ถูกต้อง
หากผู้ที่ต้องการเข้ารับการตรวจผ่านเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อไม่ถึง 3 เดือน ก็สามารถเข้าตรวจได้ แต่จะแนะนำให้มาเข้ารับการตรวจอีกครั้งหลังจากที่ผ่านไปแล้ว 3 เดือน


●สถานตรวจที่ให้บริการด้วยภาษาต่างประเทศ

HIV Test Sites with Language Support

1. Kyoto City (English)

Free, anonymous HIV test in the evening. Twice a month on Monday.
HIV test is Rapid test. The test result comes back in about an hour.
The results of the STI test (syphilis, gonorrhea, chlamydia) will be given by the staff at the same place in about two weeks.
An appointment is required for the HIV test.
And if you wish to take the STI test, you also need to make an appointment for the day you come back to get the test results.

The tests are available for a limited number of people. Please note that there may not be an appointment slot available.

For more information, please check the Kyoto City website.
  (In Japanese) Kyoto City Evening HIV test

Place: Kyoto Industrial Health Association [MAP]
Date and Time: Twice a month on Monday 5:30 p.m. – 6:30 p.m.
(Please check the Kyoto City website for the schedule. Click here (in Japanese))
Test contents:
 (1) Only HIV test
  *Rapid test (Know your result in about 60 minutes)
 (2) HIV test + STI test (syphilis, gonorrhea, chlamydia)
  *HIV test is Rapid test. However STI test results will be given by the staff at the same place in about two weeks.

Appointment/Inquiry
(English) :CHARM 06-6354-5902 Monday – Thursday 10 a.m. – 5 p.m.
(Japanese) : Kyoto Industrial Health Association Weekday 8:30 a.m. – 4:30 p.m.

PAGE TOP